ในประเทศไทยมีประชากรที่มีอาชีพทำการเกษตรมากที่สุดก็ว่าได้และมีกันทุกภาคพื้นที่กันเลยทีเดียว แต่การทำการเกษตรนั้นไม่ได้ทำให้ชาวเกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและเพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพได้ จึงทำเกษตรกรหลายรายต้องเลิกอาชีพการทำเกษตรมาหางานอื่นทำกันเป็นจำนวนมาก บางรายยิ่งทำก็ยิ่งจะมีแต่หนี้สินเพิ่ม เนื่องจากการทำการเกษตรแบบเก่านั้นเป็นการปลูกพื้นเพียงหน้าเดียว จึงเสี่ยงในเรื่องของราคาการตลาดที่ขึ้นๆลงๆถ้าโชคดีก็ทำให้มีกำไรได้แต่ถ้าโชคร้ายขึ้นมาล่ะ นอกจากจะเหนื่อยกับการทำการเกษตรแล้วยังทำให้ต้องเป็นหนี้เป็นสินอีก เนื่องจากการขายผลผลิตไม่ได้กำไรแต่ต้องกินต้องใช้เท่าเดิม อีกทั้งชาวเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 20 % จะอยู่นอกพื้นที่ของชลประทาน ซึ่งจะประสบปัญหาในเรื่องของน้ำที่จะนำมาใช้ในการทำการเกษตร
ทั้งนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงพระราชดำริ การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่มีดังต่อไปนี้
ให้แบ่งที่ดินเป็น 4 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ให้ทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา 30% ของพื้นที่ ส่วนที่ 2 ให้ทำนา 30% ของพื้นที่เช่นเดียวกัน ส่วนที่ 3 ให้ปลูก พืชสวนพืชไร่และไม้ยืนต้นแบบผสมผสานกันไปหลากหลายชนิดและให้สอดคล้องกันเช่น ปลูกต้นสักพร้อมกับต้นชะพู เพื่อให้ทั้งสองได้เกื้อกูลกัน โดยให้ต้นชะพูเกาะรอบต้นสักแทนการใช้อย่างอื่นมาทำเป็นเสาร์เพื่อให้ต้นชะพูเกาะเลื่อย ส่วนที่ 4 ให้สร้างเป็นที่อยู่อาศัย และปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆนานาชนิด และให้ทำการเพาะเห็ด และเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูเป็นต้น ซึ่งในส่วนที่ 4 นี้จะใช้พื้นที่ 10 % ของพื้นที่ทั้งหมด
เพียงเท่านี้เกษตรกรก็จะมีน้ำที่ใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเป็นบ่อที่มีไว้สำหรับกักเก็บน้ำในหน้าฝนเพื่อเอาไว้ใช้ทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี และจะมีรายได้หลายหลายช่องทางทั้งจากการทำนา เลี้ยงปลา พืชผักผลไม้ พืชผักสวนครัว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ได้หมดทั้งสิ้น
หากเกษตรกรได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมดมานี้ได้ก็จะมีชีวิตที่มั่นคงมีรายได้ที่คงที่และมีเวลาให้กับครอบครัว ซึ่งจะทำให้สังคมมีทั้งสิ่งแวดล้อมที่ดีและสุขภาพที่ดีอีกด้วย