เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริคือทฤษฎีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงแนะนำแนวทางปฏิบัติให้กับเกษตรกรไทยเอาไว้ เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ เกี่ยวกับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงแต่จริงแล้วทุกคนมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้มากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับการนำไปปรับเพื่อใช้กับตนเองและคนรอบข้างมากกว่า ด้วยแนวคิดดังกล่าวพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นให้คนไทยทุกคนโดยเฉพาะบรรดาเกษตรกรไทยทั้งหลายหายจากปัญหาการมีหนี้สิน สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้โดยไม่เดือดร้อนผู้อื่นหรือไม่ต้องเข้ามาทำงานในเมืองหลวงห่างไกลครอบครัว
ความหมายอันแท้จริงของเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความพอประมาณ คือ การมีความพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปแต่ต้องเป็นความพอดีซึ่งไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อาทิ การผลิตและการบริโภคด้วยความพอดี
- ความมีเหตุผล คือ มีการตัดสินใจในระดับความพอเพียงดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเหตุผลอันสมควรเป็น มีการพิจารณาความเหมาะสมจากปัจจัยรอบด้านอันเกี่ยวข้อง รวมไปถึงคำนึงถึงผลตอบรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ
- ภูมิคุ้มกัน คือ การเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อรับผลกระทบพร้อมการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ มีการคำนึงเรื่องความเป็นไปได้ต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เงื่อนไขของความพอเพียง
- เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบไปด้วย การรอบรู้ด้านวิชาการต่างๆ อันมีความเกี่ยวข้องแบบรอบด้าน ความรอบคอบสำหรับการนำความรู้ต่างๆ ที่มีมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าถึงกันสำหรับประกอบการวางแผนและพึงระมัดระวังระหว่างการปฏิบัติ
- เงื่อนไขด้านคุณธรรมที่ต้องมีการเสริมสร้าง ประกอบไปด้วย ตระหนักในด้านคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนอดกลั้น ความเพียรพยายาม มีการใช้สติปัญญาสำหรับการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
- แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามที่หลายคนรู้กันดี ซึ่งแต่ละส่วนจะแบ่งเป็น
- ส่วนแรก 30% สำหรับกักเก็บน้ำช่วงหน้าฝนเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรช่วงหน้าร้อน
- ส่วนที่สอง 30% ปลูกข้าวในหน้าฝนสำหรับการเก็บไว้กินตลอดปี ตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกไป
- ส่วนที่สาม 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชต่างๆ สำหรับไว้กินและขายเพิ่มรายได้บางส่วน
- ส่วนที่สี่ 10% สำหรับปลูกเพาะโรงเรือน สร้างที่อยู่อาศัย
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
- การผลิต เกษตรกรต้องร่วมมือร่วมใจทั้งเตรียมดิน พันธุ์พืช น้ำ ปุ๋ย และอื่นๆ
- การตลาด เตรียมการต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผลผลิต เช่น ลานตากข้าว ยุ้งข้าว เป็นต้น
- การเป็นอยู่ มีปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต
- สวัสดิการ รัฐมอบสวัสดิการจำเป็นให้
- การศึกษา มีบทบาทในการส่งเสริมความรู้
- สังคมและศาสนา พัฒนาจิตใจ มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน
ทฤษฎีใหม่ขั้นสาม
- ชาวเกษตรกรไม่ถูกกดด้านราคา
- เอกชนซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกร
- มีร้านสหกรณ์ขายสินค้าราคาถูก
เอกชนกระจายบุคลากรเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ