Raising frogs in cement ponds

เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ตามแบบฉบับเกษตรกร สร้างรายได้

อาชีพเกษตรกรถือว่าเป็นอาชีพหลักที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติอย่างแท้จริง ลองนึกภาพคนในประเทศไม่มีใครอยากทำเกษตร ประเทศเราคงแย่ต้องซื้ออาหารกินจากต่างชาติ นั่นก็เหมือนกับเราเป็นทาสเค้าไปแล้วครึ่งตัวนั่นเอง (ลองดูประเทศเวเนซุเอลาก็ได้ทิ้งอาชีพเกษตรไปสิบกว่าปีผลเป็นไงคงไม่ต้องบอก) แต่การทำเกษตรสมัยนี้ต้องเป็นแบบใหม่นั่นคือการผสมผสานกัน นอกจากผสมผสานพื้นที่ปลูกพืชให้หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง การเลี้ยงสัตว์เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรายได้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีน่าสนใจ อย่าง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ คืออะไร

สำหรับคนที่ยังนึกภาพไม่ออก เราจะขออธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ หมายถึงการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองขึ้นมาเพื่อเลี้ยงกบ โดยสภาพแวดล้อมจำลองนั้นมาจากการก่อบ่อปูนซีเมนต์ขึ้นมา หรือ อาจจะเอาท่อซีเมนต์ขนาดใหญ่มาก่อก็ได้ จากนั้นก็เติมน้ำลงไปใส่พืชน้ำเพื่อสร้างที่อยู่ตามธรรมชาติให้กับกบ จากนั้นก็ปล่อยกบลงไปเลี้ยง ให้อาหารตามธรรมชาติแล้วพอกบโตได้ที่ก็จับเพื่อเอาไปขาย

พันธุ์กบ

การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์นั้นไม่ได้หมายความว่า จะเลี้ยงกบตัวไหนก็ได้ พันธุ์ไหนก็ได้นะ เพราะนี่คือการเลี้ยงเพื่อรายได้ เพื่อการขาย เราจึงต้องคัดเลือกกบที่ให้ราคาดี ตัวใหญ่ เนื้อดี และอึดไม่ตายงาน โดยพันธุ์กบทีนิยมนำมาเลี้ยงได้แก่ กบอเมริกันบูลฟร็อก กับ กบนา สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงเราขอแนะนำกบนา มากกว่าเพราะว่ากบนาจะเติบโตได้ดีในสภาพอากาศบ้านเรา อีกทั้งโตเร็วมาก เพียงแค่ 5 เดือนน้ำหนักจะพุ่งไปถึง 4-5 กิโลกรัมต่อตัว ทำให้ขายได้ราคา เป็นที่นิยมของตลาด

อาหารกบ

การเลี้ยงสัตว์ เรื่องอาหารสำคัญ เราต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะอาหารที่พอเหมาะจะทำให้กบตัวใหญ่ อ้วน ได้น้ำหนักตามต้องการ และอาหารที่ให้พอดีจะไม่ทำให้เราเหลือทิ้งจนกลายเป็นต้นทุนเสียเปล่าไป คำแนะนำอาหารกบเราจะให้สองครั้งต่อวัน ตอน 7.00 น. และเวลา 17.00 น. สูตรการคำนวณอาหารแบบง่ายๆ ก็คือ ให้น้ำหนักอาหารประมาณ 10% ของปริมาณน้ำหนักกบทั้งหมด ส่วนอาหารกบไม่มีอาหารสำเร็จรูป ต้องใช้การแปรรูปอาหารสดแทน เช่น เนื้อปลาสับ ปลายข้าว ผักบุ้ง เอาไปต้มรวมกัน แล้วเอาไปโรยก็ได้อาหารกบแล้ว

นับว่าเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับเกษตรกรที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่ง ใครที่กำลังมองหารายได้เสริม มีพื้นที่บ้านพอสมควร ลองศึกษาการเลี้ยงกบดู บอกได้เลยว่าอย่าดูแคลนไป ขายได้ทีหนึ่งก็หลายบาทอยู่นะ

farmer's jobs

อาชีพเกษตรกร 10 อันดับ สร้างรายได้ได้อย่างน่าทึ่ง

แม้อาชีพเกษตรกรจะถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยยกเว้นนายทุนแต่จริงๆ แล้วยังมีเกษตรกรอีกหลายรายที่ทำงานพร้อมสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างน่าทึ่งเพียงแค่พวกเขาปรับปรุงหรือพลิกแพลงวิธีเดิมๆ ที่เคยทำอยู่ให้กลายเป็นเกษตรรูปแบบใหม่ มาดู 10 อันดับอาชีพเกษตรกรสร้างรายได้จนต้องตะลึง

10 อาชีพเกษตรกรรายได้งาม

1. ปลูกมะระจีน – อาชีพนี้เงินลงทุนไม่มากภายใน 2 เดือนก็สามารถสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว ขายต่อถุงราว 130-150 บาท สร้างรายได้ตกเดือนละ 50,000-60,000 บาท แต่ถ้ามีตลาดในการส่งออกนอกประเทศอาจทำได้สูงปีละ 200,000-300,000 บาทเลยทีเดียว
2. คอนโดไข่มดแดง – การทำแบบนี้จะช่วยบังคับให้มดแดงออกไข่นอกฤดูได้ ซึ่งไข่มดแดงที่ว่ามีราคาตกกิโลกรัมละ 300-500 บาท แถมใช้เวลาไม่เกิน 20 วัน ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ทันที
3. เลี้ยงฝูงเป็ดไข่ – ไข่เป็ดถือเป็นวัตถุดิบที่ต้องการในท้องตลาดมากดังนั้นการเลี้ยงเป็ดไข่จึงสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแบบง่ายๆ
4. เลี้ยงปูนา – ปูนาที่เราเห็นตัวเล็กๆ แบบนี้แต่สร้างเงินอย่างมหาศาล ก้ามปูกิโลกรัมละ 1,000 บาท ขณะที่ปูนิ่มเองก็ตกราคากิโลกรัมละ 1,200 บาท ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนมากแถมไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ใดๆ เยอะด้วย
5. ปลูกใบพลู – สมุนไพรไทยจัดเป็นสมุนไพรที่รักษาโรคต่างๆ ได้หลายชนิด ทานเมื่อไหร่ก็มีประโยชน์ อย่างใบพลูเราจะเห็นว่าคนมักนำมาทานกับอาหารหลายชนิด รายได้เกษตรกรที่ปลูกตกเดือนละกว่า 40,000 บาท
6. ปลูกดอกกระเจียว – ดอกกระเจียวถือเป็นพืชอีกชนิดที่นำมาเป็นวัตถุดิบกับอาหารได้หลากหลาย เกษตรกรที่ทำอาชีพนี้จึงสามารถสร้างรายได้เดือนละ 15,000-30,000 บาท กันเลย นับว่าเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ
7. เลี้ยงกุ้งกามแดง – กุ้งคือวัตถุดิบที่หลายคนนิยมกันอยู่แล้ว ดังนั้นการเลือกเลี้ยงกุ้งกามแดงจึงสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรตกเดือนละกว่า 100,000 บาท เลยทีเดียว นับว่าคุ้มค่ามากๆ กับการเลี้ยงกุ้งชนิดนี้
8. ปลูกชะอม – เชื่อว่าหลายคนชอบทานชะอมไข่กันอยู่แล้ว การปลูกชะอมจึงสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแบบยืนยาว แถมไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะด้วยเพราะแค่ปลูกไม่นานก็แตกก้านใบให้เก็บได้เรื่อยๆ
9. ต้นอ่อนทานตะวัน – ยุคนี้ใครๆ ก็รักสุขภาพ ต้นอ่อนทานตะวันอาหารที่มีวิตามินสูงจึงสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้อย่างงดงามระดับ 30,000 บาทต่อเดือน จัดว่าไม่ธรรมดาจริงๆ
10. เพาะไส้เดือน – หลายคนอาจร้องหยีกับสัตว์ประเภทนี้แต่มันสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้กับเกษตรกรได้อย่างน่าอัศจรรย์ ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่แล้วทุกคนจะรักสัตว์ชนิดนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน

Drill hole for agriculture

เจาะบาดาลเพื่อการเกษตร ทางเลือกใหม่สำหรับการใช้น้ำต้นทุนต่ำ

พื้นที่เพาะปลูกจำนวน 101.93 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 78.24% ตั้งอยู่นอกเขตชลประทานจำเป็นต้องอาศัยน้ำฝน โดยการทางออก คือ การเจาะน้ำบาดาล เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ให้ใช้ได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทำระบบชลประทานทั้งระบบ สิ่งสำคัญช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมากกว่าวิธีอื่น

โครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร คือ การคัดเลือกพื้นที่เจาะน้ำบาดาล ก่อนลงมือได้ศึกษาตั้งแต่ศักยภาพของพื้นที่ การขยายเขตไฟฟ้า รวมทั้งการมีส่วนร่วมของเกษตรกรซึ่งจะต้องเป็นผู้ดูแลระบบหลังโครงการเสร็จสิ้นต่อไป มุ่งเน้นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกพืชหมุนเวียน และพืชอายุสั้น

วิธีคือขุดเจาะน้ำบาดาลระดับตื้น ซึ่งมีความลึกน้อยกว่า 30 เมตร พร้อมติดตั้งระบบให้เกษตรกรสามารถสูบน้ำนำไปใช้ได้เลย เริ่มจากลำปางกับอุบลราชธานี ส่วนบ่อน้ำลึกเกิน 30 เมตร เริ่มดำเนินการที่ นนทบุรี , นครสวรรค์ , อ่างทอง, อุทัยธานี , สิงห์บุรี , อยุธยา , ปทุมธานี , ชัยนาท , กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี

แต่ก็มีปัญหา ตรงที่บางคนกังวลว่า การขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้จะทำให้โลกเปลี่ยนไป แต่ความจริงแล้วการดึงน้ำบาดาลในโครงการนี้ไม่ร้ายแรงเหมือนอย่างกังวล เนื่องจากใช้หลักการสูบน้ำบาดาลอย่างปลอดภัย ซึ่งเรียกว่า Safe Yield โดยในแต่ละโครงการ จะมีการเจาะบ่อสังเกตการณ์เอาไว้ 1 บ่อ เพื่อตรวจระดับว่า มีการสูบขึ้นไปใช้มากจนเกินผิดปกติหรือเปล่า และทุกๆ เดือนก็จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ถ้าพบว่ามีการนำน้ำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เช่น เอาไปเลี้ยงปลา , ทำนาข้าว เป็นต้น ใช้เยอะจนไม่คำนึงถึงผลกระทบ ก็จะมีการว่ากล่าวตักเตือน และถ้ายังฝ่าฝืนก็จะตัดออกจากโครงการทันที เพราะมิฉะนั้นในปีต่อไปบ่อบาดาลก็อาจแห้ง ไม่สามารถดึงน้ำมาใช้ได้อย่างถาวร

โดยถ้าเป็นบ่อบาดาลที่มีความลึกเกิน 30 เมตร จะต้องมีการเจาะบ่อทั้งหมด 16 บ่อ สร้างหอถังปูน 8 หอถัง และในแต่ละหอถังจะต้องมีการกักน้ำจากบ่อบาดาล 2 บ่อ สาเหตุที่ต้องสร้างหอถังจำนวนมาก เพราต้องการให้แรงส่งน้ำเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอทั่วถึงรัศมี 500 ไร่ ส่วนปากบ่อ ก็จะติดมิเตอร์วัดน้ำไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีจุดไหนหลุดรั่วเสียหายไปบ้าง จะได้เร่งซ่อมแซมแก้ไข รวมถึงน้ำที่จะส่งต่อไปให้เกษตรกรใช้ ก็จะมีการวางระบบท่อส่งน้ำไปยังแปลงของเกษตรกร โดยในแต่ละบ้านจะต้องติดตั้งมิเตอร์ด้วย เพื่อให้เกษตรกรจัดการค่าน้ำกันเอง เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกร อีกทั้งยังตรวจสอบได้ว่าบ้านไหนใช้น้ำมากใช้น้อย ก็ต้องจ่ายค่าบำรุงตามที่ใช้จริง เพื่อความยุติธรรมต่อส่วนรวม

The advantages of doing

ข้อดีของการทำ “ฝาย” กั้นน้ำฝายชะลอน้ำ

ฝายกั้นน้ำ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกั้นทางน้ำ ตามปกติมักจะกั้น ห้วย, ลำธารขนาดเล็กในบริเวณต้นน้ำ หรือ พื้นที่ซึ่งมีความลาดชันสูง ถ้าเป็นช่องที่น้ำไหลแรงก็จะช่วยในการชะลอการไหลให้ช้าลงด้วย เพื่อเป็นการกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมบริเวณตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำให้สมบูรณ์

ฝายชะลอน้ำแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ฝายชะลอน้ำแบบท้องถิ่น หรือฝายแม้ว สร้างจากวัสดุจากธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ , ไม้ล้ม รวมทั้งการนำก้อนหินมาวางเรียงกัน, ฝายชะลอน้ำแบบเรียงด้วยหิน หรือ ฝายกึ่งถาวร และฝายชะน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ฝายแบบถาวร โดยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำต้องมีการศึกษาโดยละเอียด ในเรื่องของความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัญหา มิเช่นนั้นอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ เช่น สร้างแล้วทำให้น้ำนิ่ง ไม่เกิดการไหลเวียน ก็จะทำให้น้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศเสื่อมโทรม จนอาจไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติได้

ข้อดีของการทำ “ฝาย” กั้นน้ำ

  • ช่วยชะลอน้ำ เป็นการสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าตลอดทั้งปี แม้กระทั่งในฤดูร้อน ที่ปกติน้ำจะต้องแล้ง ปัจจุบันมีการดูแลป่าชุมชนรวมกว่า 210,000 ไร่
  • มีน้ำใช้อย่างพอเพียง ในฤดูร้อนหรือหน้าแล้ง ทำให้ชุมชนรอบป่าไม่ขาดแคลน
  • ลดอัตราการเกิดน้ำท่วม เหตุการณ์จริงที่ฝนตกหนักในพื้นที่ จ.ลำปาง พบว่าน้ำไม่ท่วมในพื้นที่สร้างฝาย เช่น ชุมชนบ้านสาสบหกอำเภอแจ้ห่ม , ชุมชนบ้านสามขา , บ้านเอียก ในอำเภอแม่ทะ เป็นต้น
  • ช่วยยืดระยะเวลาให้น้ำท่วมช้าลง ถ้าเกิดเหตุภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงจะทำให้ชาวบ้านในชุมชน สามารถอพยพได้ทันเวลา
  • ช่วยลดจำนวนการเกิดไฟป่า จากเหตุการณ์จริงหลังจากสร้างฝายในพื้นที่ป่ารอบโรงงานปูนซิเมนต์ไทย จังหวัดลำปาง พบว่ามีการเกิดไฟป่าลดลงจากปีละ 200-300 ครั้ง เหลือเพียงปีละไม่เกิน 4-6 เท่านั้น
  • เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่า เช่น พื้นที่อนุรักษ์ป่าแม่ทรายคำ พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 22 ชนิด เช่น เม่นใหญ่ , สุนัขจิ้งจอก , แมวดาว ที่เป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ , สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด เป็นต้น
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีอาหารเพียงพอตลอดปี
  • สร้างอาชีพ ทั้งการนำผลผลิตจากป่า เช่น เห็ด , ผักหวาน , สมุนไพร เป็นต้น นำไปขาย ถ้าบางแห่งมีธรรมชาติอันสวยงาม ก็เปิดเป็น Homestay สร้างรายได้แก่ให้ชุมชน 2 ทาง
  • ต่อยอดกิจกรรมใหม่ๆ เช่น ป้องกันไฟป่าอย่างยั่งยืน , จัดทำระบบการประปาภูเขา , จัดตั้งกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุ่มการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว , กลุ่มการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และกลุ่มสมุนไพร เป็นต้น
abocn-turbine

อุปกรณ์การเกษตรเครื่องทุ่นแรงสมัยเก่า

ถ้าเรามาพูดถึงเกี่ยวกับการเกษตรนั้นเราจะมุงเน้นไปที่พวกเครื่องใช้สมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นจำพวกเครื่องไถนาเครื่องตัดแต่งกิ่งไม้เครื่องรดน้ำภายในสวนพืชผักสวนครัวนั่นเองแต่หารู้ไม่ว่าก่อนที่จะมีของพวกนี้มานั้นเราเคยคิดกันไหมว่าเมื่อก่อนนั้น

ก่อนที่จะมีพวกเครื่องไถนานั้นคนไทยสมัยก่อนใช้อุปกรณ์อะไรในการทำไร่ทำนา นั่นก็คือควายหรือว่ากระบือของคนไทยนั่นเองเพราะว่าสมัยก่อนนั่นความเจริญและอุปกรณ์เทคโนโลยีนั้นยังมาไม่ถึงยังไม่เจริญเลยทำให้คนไทยสมัยก่อนฝึกวัวควายเพื่อนำเอามาเป็นอุปกรณ์การเกษตรนั่นเองอิกด้วยเนื่องจากค่ารางการใช้ในการชื่อเครื่องไถนานั้นมีราคาแพงมากหลายแสนเลยทำให้คนไทยนั้นฝึกวัวควายเพื่อที่จะนำมาเป็นเครื่องใช้ในการทำนานั่นเองข้อดีของมันนั้นก็มีคือลดต้นทุนในการผลิตและยังช่วยสืบสารอนุรักษ์ความเป็นมาของคนไทยสมัยก่อนเก่าแก่ได้อิกด้วยแต่นะยุคนี้สมัยนี้นั่นมันไม่เหมือนกันแต่ก่อนเนื่องด้วยอุปกรเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้นได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเลยทำให้จากการใช้วัวควายเป็นอุปกรณ์การเกษตรนั้นเริ่มที่จะถดถอยน้อยลงไปและตอนนี่ปันจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นเครื่องทุ่นแรงและใช้ในการทำนามากขึ้นเนื่องด้วยประหยัดค่าแรงงานประหยัดค่าจ้างประหยัดค่าอื่นๆอิกมากมายแล้วก็เครื่องไถนานั้นมีความเร็วในการทำนาและในการเก็บเกี่ยวข้าวสารที่เราปลูกไว้นั้นได้ไวกว่าคนปกติทำกว่าเร็วกว่าไวกว่าและยังประหยัดเวลาในการทำงานอิกด้วยนั่นคือข้อดีของอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่นั่นเองและตอนนี้นั้นเครื่องไถนาคูโบต้านั้นก็ยังเป็นที่หนึ่งของของตลาดการเกษตรเพราะว่ามันคือเครื่องกลและแถมยังเป็นเครื่องจักรที่มีหน้าที่ในการทำงานเต็มรูปแบบที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้นั้นเองและนั่นก็คือสิ่งที่ชาวเกษตรทุกคนต้องการและให้การยอมรับมีถึงทุกๆวันนี้

abocn-grower

ความหน้าสนใจของชาวไร่การเกษตรดีอย่างไรต่อชีวิตประจำวัน

ถ้าถามถึงเกี่ยวกับการกินหรือการเป็นอยู่นั้นคนไทยสมัยก่อนนั้นให้ความสนใจมากในเรื่องนี่เพราะว่าคนไทยสมัยก่อนนั้นมักจะใช้ความสามารถของตัวเองเพื่อในการทำมาหากินหรือเพื่อในการใช้ชีวิตให้อยู่ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นอิกแล้วแถมยังมีความเป็นอยู่ที่ดีแล้วยังสามารถแบ่งปันเพื่อนบ้านได้อิกด้วยแล้ววันนี้เราจะมาคุยและพูดถึงเกี่ยวกับ คำว่าเกษตรกันว่าความเป็นมานั้นเป็นยังไงและอะไรคือคำว่าเกษตร คำว่าเกษตรนั้นคือการเพราะปลูกพืชผักหรือการเลี้ยงปาเลี้ยงไก่หรือเลี้ยงสัตว์และอิกอย่างหนึ่งก็คือการทำไรทำนาหรือจะเอาแบบกว้างๆมันก็คือการทำอะไรก็ได้ที่ทำออกมาแล้วสามารถนำสิ่งของนั้นกลับมาแปลเปลี่ยนเป็นเงินได้นั้นเอง และถามว่าชาวเกษตรนั่นต้องทำอะไรบ้างเราจะมายกตัวอย่างเช่นการทำบ่อฟาร์มเลี้ยงปาอย่างแรกที่เราต้องทำก็คือในหนึ่งวันนั้นสิ่งแลกคือตื่นเช้าขึ้นมานั้นเราต้องหมั่นดูนำว่าใสและสะอาดหรือไม่ถ้าไม่เราก็ต้องหาสาเหตุและวิธีแก้ไขแล้วสิงเลยเราต้องให้อาหารที่ทำให้ปลาที่เราเลี้ยงนั้นโตแล้มีเนื้อที่ใหญ่และเหมาะแก่การส่งออกไปขายยังท้องตลาดนั้นเองและถ้าถามว่าการเกษตรนั้นเราสามารถบอกอิกได้เลยว่ามันคืออาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยที่เราไม่ต้องออกไปทำงานที่ไหนหรือทำงานนอกบ้านนั่นเองงานที่ทำนั้นก็นั้นไปจำพวกของที่เรานั้นทำได้ง่ายและมีต้นทุนที่ไมแพงมากจนเกินไปแล้วสิ่งที่ชาวเกษตรหรือชาวไร่ชาวสวนนั้นต้องการก็คือความอยู่ด้วยมือเท้าของตัวเองเดินได้ด้วยตัวเองและเป็นนายของตัวเองนั่นเองอาชีพเกษตรกรและตอนนี้คนไทยกว่าสี่สิบเปอร์เซนนั้นก็ทำการเกษตรอิกด้วยและประเทศไทยก็เป็นพื้นที่ ที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตรมากและเยอะที่สุดในประชาคมอาเซี่ยนอิกด้วย

abocn-Agricultural machinery

อุปกรณ์แนวเกษตรและเศรษฐกิจนั้นสามารถอยู่ร่วมกับคนไทยได้อย่างไร

ถ้าถามถึงว่าคนไทยสมัยนี้นั้นอยู่ด้วยการดำรงชีวิตอย่างไรโดยที่ไม่เดือดร้อนคนอื่นนั้นมันก็มีได้มากหลายวิธีเช่นเดียวกันนั่นเองและที่สำคัญเลยคนในประเทศไทยนั้นยังนั้นใช้ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนมาจากคนรุ่นสู่รุ่นทางด้านการเกษตรและเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันเราได้อิกด้วย แต่ที่เราจะมาพูดคุยพูดถึงกันในวันนี้นั้นก็คือ อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในสวนครัวที่เราจำเป็นต้องใช้แล้วก็หน้าที่การทำงานของเจ้าตัวสิ่งอุปกรณ์กัน ขอยกตัวอย่างเช่น เครื่องไถนาคูโบต้านั้นหน้าที่การทำงานของมันก็คือมีหน้าที่ช่วยในการเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังถึงเวลาเก็บเกี่ยวและยังสามารถเก็บได้ไวกว่าปกติอิกด้วยสองเท่าและนอกจากนั้นแล้วคนไทยนั้นส่วนหนึ่งนั้นยังชอบในการปลูกต้นไม้อิกด้วยและดอกกล้วยไม้อิกด้วยเนื่องจากดอกกล้วยไม้นั้นมีความสวยงามและเสน่ห์ของมันก็คือมีกลิ่นหอมและอุปกรณ์การเกษตรที่ที่ใช้ในการตัดแต่งต้นไม้นั้นก็คือกรรไกรแต่งหน้าที่การทำงานของมันคือคอมตัดส่วนเกินหรือส่วนที่ไม่ต้องการหรือส่วนที่แหลมออกมาและส่วนที่เราไม่ต้องการนั่นเองและมันยังสามารถตัดในส่วนที่นิ้วของเรานั้นไม่สามารถตัดเองได้อิดด้วยและดอกกล้วยไม้หรือต้นกล้วยไม้นั้นยังเป็นที่ต้องการของตลาดอิกด้วยและชาวเกษตรสมัยใหม่นั้นยังมุ่งนั้นที่จะทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดอิกด้วยและยังเป็นผลผลิตที่ตลาดของเรานั้นต้องการอิกด้วยแล้วชาวเกษตรการประมงนั้นและช่วงนี้นั้นตอนนี่นั้นยังเป็นหน้าร้านอิกและปีนี้นั้นชาวเกษตรยังปลูกทุเรียนอิกด้วยเนื่องจากเป็นผลผลิตและกำไรดีมากถึงหนึ่งปีชาวเกษตรนั้นจะทำได้เพียงแค่ปะระครั้งก็ตาม แต่ละปีก็ถึงมียอดเงินหมุนเวียนได้ดีมากเลยและยังเป็นผลไม้ที่อร่อยมากอิกด้วย

Vegetable-Garden-s

7 เทคนิคการปลูกผักสวนครัว ตามแบบฉบับเกษตรกรรม

ในปัจจุบัน การสร้างและทำสวนในบ้าน จัดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสวนดอกไม้หรือจะเป็นสวนผักต่างๆ ที่สามารถให้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ซึ่งในการจัดทำสวนแล้วนั้น เชื่อว่าหลายคนต้อวงมีการคิดและวางแผนความต้องการของสวน ที่อยากจะให้เป็นกันอยู่แล้ว แต่การลงมือทำนั้น บางทีก็ไม่สามารถทำได้ให้เป็นอย่างใจคิด ความเหตุผลต่างๆ มากมาย ซึ่งในวันนี้ ผมจะขอมาแนะนำ 7 วิธีการปลูกผักสวนครัว ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในแบบอย่างเกษตรกรรม ฉบับที่ว่าดีแน่นอน 100% เลยทีเดียว ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ จะเป็นขั้นตอนที่สามารถทำได้ง่าย และมีผลลัพธ์ที่ดี เพียงทำดังนี้

1.ปลูกให้น้อยชนิด เน้นผลผลิต

การปลูกผักมากหลากหลายชนิด จะทำให้ต้องวุ่นวายกับการดูแลแต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าทำไม่ได้สุดท้ายผักทั้งหมดก็เฉาตายไปอีก จึงควรเลือกแค่ 2-3 ชนิดก็พอ ปลูกน้อยๆ แต่เน้นผลผลิต จึงควรเลือกปลูกพืชที่ทางบ้านกินบ่อยๆ

2.อย่าปลูกเยอะจนเกินไป

ในการปลูกควรที่จะแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสม ไม่ให้เบียดกันมากจนเกินไป เพราะมันจะทำให้พืชผักที่ปลูกนั้นแย่งอากาศและน้ำซึ่งกันและกัน จนตายไปในที่สุด

3.จัดตารางรดน้ำให้เหมาะสม

เป็นการจัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ เพื่อไม่ให้พืชที่ปลูกเฉาตาย ซึ่งในหน้าฝน เราสามารถที่จะกักเก็บน้ำฝนได้ เพื่อนำมาใช้ในการรดน้ำต้นไม้

4.ปลูกข้ามฤดู เพื่อผลผลิตที่ดี

อย่าหลงดีใจว่าจะสามารถทำได้ทุกชนิด เพราะมีเพียงบางพืชเท่านั้นที่สามารถปลูกข้ามฤดู เช่น บล็อกโคลี , หอมใหญ่ , มะเขือเทศ ที่เป็นผักประจำฤดูฝน แต่ก็สามาระนำมาปลูกในฤดูหนาวได้เช่นกัน

5.สร้างรั้วล้อมผัก

เป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูพืช เข้ามาในพื้นที่สวนผักของเรา

6.จดบันทึกข้อมูล

ใช้เทคนิคเดียวกับการจดความเปลี่ยนแปลงของการปลูกถั่วเขียวให้กลายเป็นถั่วงอก โดยการเก็บข้อมูล ช่วงเวลา ชนิด วิธีการปลูก การเจริญเติบโต หรือจำนวนผลผลิต เพื่อหาข้อแก้ไขปรับปรุงในการปลูกครั้งต่อๆ ไป

7.ปลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ในการปลูกผักสวนครัวนั้น จะมาหวังรอกินเลย คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ผู้ที่ต้องการปลูกผักสวนครัวต้องศึกษาถึงผักหรือพืชที่จะปลูกให้ดี ว่าควรที่จะปลูกในเวลาอะไร ฤดูกาลใด เพื่อผลผลิตที่ดี สามารถกินได้ตามฤดูกาล

ฤดูร้อน ต้องหาพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ เช่น มะระ , บวบ , ผักชี , ผักกาดขาว , ถั่วพู , ฟักทอง , ข้าวโพดหวาน เป็นต้น

ฤดูฝน (ตอนต้น) ควรปลูกพริก , ผักบุ้ง , มะเขือ , กระเจี๊ยบเขียว , บวบ , มะระ , แตงกวา น้ำเต้า เป็นต้น

ฤดูฝน (ตอนปลาย) ถือเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว สิ่งที่ควรปลูกคือ ถั่วลันเตา , แครอท , หอมใหญ่ , มะเขือเทศ , ขึ้นฉ่าย , กะหล่ำปลี เป็นต้น

ฤดูหนาว ควรปลูกบล็อกโคลี , แครอท , หอมหัวใหญ่ , ผักกาดขาว , ถั่วพู , ผักกาดหอม เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ทาง http://www.sbobetonline24.com ต้องการนำมาให้ได้อ่าน เพื่อเพิ่มความรู้ในต่อๆ ไป

abocn-tmaxresdefault-s

การเลี้ยงหมูหลุมสร้างรายได้ลดต้นทุนเข้าสู่อาชีพ

การเลี้ยงหมูโดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาตินั้น เราเลี้ยงแค่ตัวเดียวก็ทำให้มีกลิ่นเหม็นแล้ว ส่วนความแตกต่างของการเลี้ยงหมูหลุมนั้นมีประโยชน์มากและทำให้หมูโตไวมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะถ้าเราย้อนกลับไปดูวิธีการเลี้ยงหมูตามวิธีแบบชาวบ้านสมัยก่อนนั้นจะเลี้ยงหมูโดยปล่อยให้อยู่กับขี้ดินขี้โคลนตามใต้ถุนบ้านซึ่งบ้านสมัยก่อนนั้นจะมีบ้านที่มีใต้ถุนกันซะส่วนใหญ่และส่วนใหญ่ใต้ถุนบ้านก็จะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจึงทำให้ชาวบ้านบางคนนำหมูมาเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมบ้างก็เลี้ยงแค่ 1-2 ตัว บ้างก็จะเลี้ยงหลายตัวตามพื้นที่ที่มีอยู่แต่การเลี้ยงหมูแบบชาวบ้านในสมัยก่อนนั้นก็จะเลี้ยงกันตามประสาชาวบ้านที่ไม่มีความรู้อะไร จึงเลี้ยงหมูโดยการกั้นใต้ถุนบ้านให้เป็นคอกและขังน้ำให้เป็นดินโคลนเพื่อให้หมูได้อยู่เสมือนธรรมชาติ แต่การเลี้ยงหมูโดยวิธีนี้ไม่เป็นที่น่ายินดีเท่าไหร่นักเนื่องจากการเลี้ยงด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้บ้านได้รับกลิ่นเหม็นจากมูลของหมูเองและยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆที่เป็นอันตรายทั้งคนและหมูที่อยู่ในบริเวณนั้นอีกด้วย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับการเลี้ยงหมูหลุมกันเลยดีกว่าครับ

การเลี้ยงหมูหลุมจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากมากนักหากได้ศึกษามาเป็นอย่างดีก็จะประสบผลสำเร็จได้ เราจะเริ่มขั้นตอนแรกกันเลยดีกว่าครับ

1.ควรจะมีพื้นที่ที่เป็นแบบโรงเรือนโดยมีที่กันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี จากนั้นก็แยกเป็นคอกๆโดยจะให้ 1 คอกมีหมูอยู่ได้ไม่เกิน 10 ตัวซึ่งการสร้างจำนวนของคอกหมูนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เรามีอยู่และจำนวนหมูที่จะเลี้ยงด้วย

2.ให้ปูพื้นคอกหมูโดยใช้ต้นกล้วยมาสับเป็นชิ้นเล็กเทลงพื้นให้ทั่วคอก จาดนั้นให้นำน้ำจุลินทรีย์มาเทราดให้ทั่วคอกอีทีและใช้แกลบมาเททับอีกชั้นโดยให้คุมต้นกล้วยที่สับให้มิด

3.ทำแบบเดียวกันอย่างข้อที่ 2 อีกครั้งเพื่อความหนาของพื้นที่และทำให้เหมือนกันแบบนี้ทุกคอก สุดท้ายให้ฉีดน้ำให้ชุ่มชื่นทั่วทั้งคอก เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเลี้ยงหมูได้อย่างปกติซึ่งจะทำให้ลดกลิ่นของมูลของหมูและทำให้หมูแข็งแรงปลอดโรคอีกด้วย

ทั้งนี้เมื่อนำหมูไปขายได้แล้วก็นำพื้นคอกที่เป็นแกลบและมูลของหมูไปใส่ต้นไม้แทนปุ๋ยได้หรือนำไปขายให้กับชาวเกษตรกรที่ปลูกพืชผักได้อีกด้วย

abocn-pic

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าแนวทางเลือกใหม่ของเกษตรกร

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าว่ากันว่าเป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ได้ผลผลิตดีที่สุดและปลอดภัยมากที่สุดในการเพาะอีกด้วย

เพราะจะใช้การเพาะในโรงเรือนที่เราสามารถสร้างขึ้นเองจากโครงเหล็กหรือโรงเรือนที่มีอยู่แล้วก็ได้ แต่การใช้โรงเรือนที่สร้างมาจากโครงเหล็กนั้นถึงจะมีขั้นตอนที่มากกว่าแต่จะควบคุมระบบการเพาะเห็ดได้ดีกว่าด้วย เพราะว่าการสร้างโรงเรือนด้วยโครงเหล็กนั้นจะสร้างขึ้นหลายๆโรงเรือนและจะใช้หลายๆโรงเรือน ต่างจากเมื่อก่อนที่ใช้โรงเรือนใหญ่ๆเพียงแค่โรงเรือนเดียว

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ดมีดังนี้

1.ตะกร้าพลาสติกที่มีช่องทั้งด้านข้างและด้านล่างโดยรูจะมีความกว้างxยาว 1 นิ้ว 2.วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื้อย 3. อาหารเสริม 4.เชื้อเห็ดฟางที่ดีมีคุณภาพ 5.ฟิล์มหรือพลาสติกที่ใช้คุมตะกร้า 6.อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น มีด,ท่อนไม้,กรรไกรเป็นต้น 7.สุ่มไก่ 8.โครงเหล็กที่ใช้เป็นเสมือนโรงเรือน

โดยจะมีขันตอนเพราะเห็ดฟางดังต่อไปนี้

ขั้นตอนแรกให้นำตะกร้าล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแดดสักครึ่งวัน จากนั้นให้นำขี้เลื้อยเทใส่ลงไปในตะกร้าให้ทั่วตะกร้าให้สูงประมาณ 1 นิ้วเสร็จแล้วให้นำอาหารเสริมเช่น ผักตบชวาโดยเอาผักตบชวาไปหั่นเป็นชิ้นเล็กๆหั่นแบบเฉียงๆหนาประมาณสักครึ่งนิ้ว นำผักตบชวาที่เตรียมไว้ใส่ลงไปเป็นชั้นที่ 2 ของตะกร้าใช้ประมาณ 1 ลิตรและแหวกตรงกลางออกให้มีช่องว่าประมาณ 1 กำปั่นของมือคน จากนั้นให้นำเชื้อเห็ดฟางที่ได้เตรียมไว้มาทำการผสมกับแป้งสาลีต่อมาเทลงบนชั้นที่ 2 โดยให้ชิดขอบของตะกร้าให้ทั่วตะกร้า เสร็จแล้วให้ทำแบบเดียวกันนี้อีก 2 ครั้ง โดยจะได้ทั้งหมด 3 ชั้น ปิดท้ายด้วยการนำขี้เลื้อยเททับชั้นบนสุดใช้ท่อนไม้กดอัดให้แน่นให้มีพื้นที่ความสูงเหลือจากปากตะกร้าลงมา ประมาณ 2-3 นิ้ว จากนั้นให้นำไปวางเรียงกันกับตะกร้าอื่นๆที่ทำเสร็จแล้วส่วนใหญ่จะใช้ 3 ตะกร้าวางเรียงกันเป็นวงกลม และจะให้อีก 1 ตะกร้าวางซ้อนกันอยู่ด้านบน

จากนั้นนำสุ่มไก่มาครอบและใช้ฟิล์มหรือพลาสติกปิดอีก 1 ชั้น วันที่ 3 ให้ย้ายไปที่โรงเรือนเหล็กและค่อยดูอุณหภูมิไม่ให้เกิน 25-30 องศาเซลเซียส ในวันที่ 8-10 ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ จะเก็บเห็ดฟางได้ถึง 4 ครั้งกันเลยทีเดียว

ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ทั้งที่ทำแบบเป็นประจำหรือที่ทำเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย